Close
title
f
title
สำนักงานทางหลวงที่ 2 (แพร่)
Office of Highways 2 (Phrae)
วิสัยทัศน์ : งานทางได้มาตรฐาน การบริการประทับใจ สะดวกปลอดภัยทุกเส้นทาง
 
ข่าวสารทางหลวง
title
กรมทางหลวง ร่วมกับการประปาส่วนภูมิภาค แจกจ่ายน้ำประปาช่วยเหลือประชาชน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงสถานการณ์ภัยแล้ง ตั้งแต่มีนาคมเป็นต้นไป

นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ด้วยขณะนี้ประเทศไทยได้เข้าสู่ช่วงสถานการณ์ภัยแล้งโดยเฉพาะพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ประชาชนหลายจังหวัดได้รับความเดือดร้อนขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวันและเพื่อทำการเกษตร กรมทางหลวงจึงได้ดำเนินโครงการ “กรมทางหลวง – การประปาส่วนภูมิภาค รวมใจต้านภัยแล้ง” ปีที่ 18 โดยการประปาส่วนภูมิภาคได้ให้การสนับสนุนน้ำประปา เพื่อแจกจ่ายน้ำประปาช่วยเหลือผู้ประสบภัยและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนผ่านหน่วยงานในสังกัดกรมทางหลวงทั่วประเทศ ได้แก่ สำนักงานทางหลวง 18 แห่ง แขวงทางหลวง 104 แห่ง และหมวดทางหลวง 581 แห่งอธิบดีกรมทางหลวง กล่าวต่อไปว่า กรมทางหลวงได้จัดเตรียมรถบรรทุกน้ำ อุปกรณ์ และบุคลากร ในการเข้าให้ความช่วยเหลือประชาชนทุกพื้นที่อย่างทันท่วงที พร้อมสนับสนุนทุกหน่วยงานในพื้นที่ในการช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่งกรมทางหลวงจะดำเนินโครงการดังกล่าวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2566 เป็นต้นไปและตามการร้องขอของประชาชนจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายหากประชาชนหรือหน่วยงานใดประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ สามารถขอรับความช่วยเหลือได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงทั่วประเทศ หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สายด่วนกรมทางหลวง 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) 23 มีนาคม 2566ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง
title
กรมทางหลวงเปิดงานวิจัย “การศึกษาเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุบัติเหตุบนทางหลวงที่เกี่ยวเนื่องจากการขับขี่หลับใน” นำร่องแล้ว 3 จังหวัด

กรมทางหลวงเปิดเผยข้อมูลรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562 ระบุว่า การหลับในเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเป็นลำดับที่ 3 รองลงมาจาก ขับรถเร็วเกินกำหนด และคนหรือรถตัดหน้ากระชั้นชิด กรมทางหลวงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการศึกษาเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุบัติเหตุบนทางหลวงที่เกี่ยวเนื่องจากการขับขี่หลับใน ซึ่งผลการดำเนินการจะสรุปเป็นแนวทางและมาตรการอำนวยความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ใช้ทางต่อไป    จากข้อมูลรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562 ระบุว่า การหลับในเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุทางถนนเป็นลำดับที่ 3 รองลงมาจาก ขับรถเร็วเกินกำหนด และคนหรือรถตัดหน้ากระชั้นชิด กรมทางหลวงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการศึกษาเพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากอุบัติเหตุบนทางหลวงที่เกี่ยวเนื่องจากการขับขี่หลับใน ซึ่งผลการดำเนินการจะสรุปเป็นแนวทางและมาตรการอำนวยความปลอดภัยที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ใช้ทางต่อไป   นายสราวุธ  ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า กรมทางหลวง โดยสำนักวิจัยและพัฒนางานทาง ได้ดำเนินการศึกษามาตรการในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากการขับขี่หลับใน โดยประยุกต์ใช้เครื่องมือตรวจวัดระดับความอ่อนล้าหรือความง่วง ประกอบด้วยเครื่องแสกนคลื่นสมอง (EMOTIVE) นาฬิกาวัดอัตราการเต้นของหัวใจ (Smartwatch) กล้องบันทึกภาพเคลื่อนไหว และการใช้แบบสอบถามประเมินความง่วง โดยการศึกษานี้แบ่งการทดลองเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกเป็นการทดลองในห้องปฏิบัติการซึ่งเป็นการทดลองด้วยเครื่องขับขี่เสมือนจริง (Driving Simulator) เพื่อจำลองมาตรการต่างๆ โดยจำลองเป็นสถานการณ์ที่เกิดจากการผสมผสาน (Combination) ระหว่างรูปแบบของป้าย และ Rumble strips และส่วนที่ 2 เป็นการทดลองมาตรการจริงบนพื้นที่นำร่อง โดยปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการติดตั้งป้ายเขตแก้ง่วงในพื้นที่นำร่อง จำนวน 3 สายทาง ได้แก่ 1.ทางหลวงหมายเลข 340 สาย สาลี – สุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี กม.ที่ 50+000 -70+000 ขาออก 2.ทางหลวงหมายเลข 1 สาย ประตูน้ำพระอินทร์ – หนองแค จ.สระบุรี กม.ที่ 76+000 – 56+000 ขาเข้า 3.ทางหลวงหมายเลข 344 สายหนองรี – คลองเขต จ.ชลบุรี กม.ที่ 20+350 – 40+350 ขาออก   ซึ่งจากผลการทดสอบในพื้นที่นำร่องร่วมกับการสอบถามผู้ใช้ทาง ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า การนำระบบป้ายพิเศษเพื่อสร้างความตื่นตัว (ป้ายคำถาม - คำตอบ) สามารถกระตุ้นให้ผู้ขับขี่มีความตื่นตัว เนื่องจากเป็นการกระตุ้นให้ผู้ขับขี่ได้ใช้ความคิด ลดความง่วงลงได้ รวมถึงการใช้มาตรฐานป้ายต่างๆ ร่วมกับแถบสั่นแนวขวางจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพทั้งความตื่นตัวและช่วยให้สังเกตเห็นป้ายได้ง่ายมากขึ้น โดยหากจะนำระบบป้ายพิเศษเพื่อสร้างความตื่นตัว (ป้ายคำถาม - คำตอบ)  ไปใช้งานในพื้นที่จริงควรเพิ่มคำถามให้หลากหลายขึ้น อาจจะมีการเปลี่ยนคำถามทุก ๆ 1 - 3 เดือน เพื่อลดความจำเจ และเพิ่มความแปลกใหม่ให้แก่ผู้ใช้รถใช้ถนน หากจะนำมาตรการดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่จริงเพื่อลดอุบัติเหตุจากการขับขี่หลับใน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพของมาตรการควรต้องพิจารณาร่วมกับสภาพแวดล้อมของสายทางนั้นๆ ด้วย เช่น การติดตั้งป้ายบริเวณข้างทาง การจอดรถบริเวณไหล่ทาง การปรับปรุงภูมิทัศน์ข้างทางและจุดพักรถ เป็นต้น     ประโยชน์จากการศึกษาโครงการดังกล่าวจะช่วยให้ทราบถึงปัจจัยและสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการขับขี่หลับใน สามารถสรุปเป็นแนวทางในการเสนอแนะมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุบนทางหลวงต่อไป  กรมทางหลวงขอความร่วมมือผู้ใช้ทางปฏิบัติตาม “ชีวิตวิถีใหม่ ขับขี่อย่างปลอดภัย ไร้อุบัติเหตุ” ขับขี่ด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านและผู้ร่วมทาง ประชาชนสามารถสอบถามเส้นทางการเดินทางได้ที่ สายด่วนกรมทางหลวง โทร 1586 (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง)
title
กรมทางหลวง ศึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางเลี่ยงเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาการจราจรบริเวณเขตเมืองในภูมิภาค คาดศึกษาแล้วเสร็จเดือนมีนาคม 2567

ปัจจุบันการขยายตัวของพื้นที่ชุมชนและเขตเมืองได้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในทุกภูมิภาคของประเทศทำให้พื้นที่ต่างๆ มีการเจริญเติบโต ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การลงทุน การค้าและการขนส่ง รวมถึงการเพิ่มขึ้นของที่อยู่อาศัย ส่งผลให้โครงข่ายทางหลวงในปัจจุบันที่มีระยะทางกว่า 53,000 กิโลเมตรทั่วประเทศ ต้องรองรับปริมาณการจราจรที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งบางเส้นทางไม่สามารถก่อสร้างเพิ่มช่องจราจรได้อีก ทำให้ผู้ใช้ทางประสบปัญหาการจราจรติดขัดไม่ได้รับความสะดวกในการเดินทาง กรมทางหลวงจึงมีความจำเป็นในการศึกษาพิจารณาวางแผนพัฒนาโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองในพื้นที่ชุมชนและเขตเมืองหลักๆ ของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีอัตราการเติบโตของปริมาณการจราจรที่สูง เพื่อแยกปริมาณการจราจรที่ไม่จำเป็นต้องเดินทางผ่านพื้นที่เมืองออกมา การก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองเป็นการช่วยลดผลกระทบด้านการจราจรที่ติดขัดในเขตเมืองและช่วยพัฒนาพื้นที่ให้เกิดการกระจายความเจริญไปสู่พื้นที่รอบนอกได้อีกด้วยกรมทางหลวง โดยสำนักแผนงาน จึงได้ดำเนินการจัดประชุมปฐมนิเทศโครงการ (สัมมนา ครั้งที่ 1) การศึกษาจัดทำแผนพัฒนาทางเลี่ยงเมือง เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรบริเวณเขตเมืองในภูมิภาค โดยมีหน่วยงานภายในของกรมทางหลวง หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประชาชนผู้ที่สนใจ และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุมดังกล่าว ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพื้นที่โครงการที่เหมาะสมและมีศักยภาพในการพัฒนาเป็นโครงข่ายทางเลี่ยงเมือง รวมทั้ง ศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นทางด้านเศรษฐกิจ วิศวกรรม ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนพัฒนาทางเลี่ยงเมืองเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว สำหรับขอบเขตการศึกษาประกอบไปด้วย 1) การทบทวนการศึกษาและแผนพัฒนาที่เกี่ยวข้อง 2) การพิจารณาหลักเกณฑ์และการคัดเลือกโครงการ 3) การศึกษาทางด้านเศรษฐกิจและสังคม 4) การศึกษาด้านการจราจรขนส่ง 5) การศึกษาด้านวิศวกรรม 6) การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น 7) การมีส่วนร่วมของประชาชน 8) การศึกษาวิเคราะห์โครงการด้านเศรษฐกิจ และ 9) การจัดทำแผนพัฒนาโครงข่ายทางเลี่ยงเมืองนอกจากนี้ กรมทางหลวงยังได้กำหนดให้มีการประชาสัมพันธ์โครงการและการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างทั่วถึงและครอบคลุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่โครงการที่ได้รับคัดเลือก เพื่อให้หน่วยงานราชการและประชาชนในพื้นที่ ได้รับทราบข้อมูลและแสดงความคิดเห็นข้อเสนอแนะต่อโครงการ โดยการประชุมครั้งต่อไปในเดือนมิถุนายน 2566 จะเป็นการประชุมกลุ่มย่อยครั้งที่ 1 เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการ แนวเส้นทางและรูปแบบเบื้องต้นของโครงการฯสำหรับประชาชนผู้ที่สนใจ สามารถติดตามความเคลื่อนไหวหรือสอบถามข้อมูลข่าวสารของโครงการเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.doh-bypass.com facebook : แผนพัฒนาทางเลี่ยงเมืองกรมทางหลวง Line official : doh-bypass (@021rouzs) และสำนักแผนงาน กรมทางหลวง โทร 0 2354 6560 10 มีนาคม 2566ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมทางหลวง